วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2567

สระบุรี - ครบรอบ 55 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนประจำปี 2567

 ภาพ - ข่าว : สมภพ พิมมะศร สระบุรี 


ที่ศูนย์พัฒนาอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงชำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัด สระบุรี นายดูรงค์ฤทธิ์ ศิริวัฒนพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปี โครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “รวมพลังอช. สานพลังแก้จนพัฒนาคนอย่างยั่งยืน” โดยมีนายสุริยา บุญเรืองยศศิริ พัฒนาการจังหวัดสระบุรี  หัวหน้าส่วนราชการ และอาสาพัฒนาชุมชน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน และสมาชิกชมรมอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ทั้ง 13 อำเภอ เข้าร่วมกิจกรรมฯ 
            ทั้งนี้กรมการพัฒนาชุมชน




    มีภารกิจในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาชน เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงกรพัฒนาด้านต่างๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมให้ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน(ผู้นำอช.) และอาสาพัฒนาชุมชน (อช) เป็นแกนนำในการประสาน การทำงานระหว่างผู้นำองค์กรชุมชนและภาคีการพัฒนาต่างๆ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญ ของอาสาสมัครที่มีต่อการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล ซึ่งจังหวัดสระบุรี ได้จัดกิจกรรมดังกล่าว เป็นประจำทุกปีมาอย่างต่อเนื่อง และในปี 2567  ชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี ร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ได้กำหนด "การจัดกิจกรรมเนื่องในวาระครบรอบ 55 ปีโครงการพัฒนาผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน" ภายใต้แนวความคิด "รวมพลัง อช. สานพลัง แก้จน พัฒนาคนอย่างยั่งยืน" ณ ศูนย์พัฒนาอาชีพเศรษฐกิจพอเพียงชำผักแพว เพื่อแสดงพลังความสามัคคี ยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนและอาสาพัฒนาชุมชนและเผยแพร่การดำเนินงานอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี






 โดยมีกิจกรรมได้แก่  การอ่านสารรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวคำปฏิญาณตน การมอบเกียรติบัตรให้กับผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนที่มีผลงานดีเด่น  การมอบเงิน/เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ครัวเรือนยากจน การถวายผ้าป่าสมทบกองทุนชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนจังหวัดสระบุรี การเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอหนองแค การปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร..



จังหวัดสระบุรีประชุมกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประจำเดือนมากราคม 2567

 ภาพ - ข่าว : สมภพ พิมมะศร สระบุรี


    วันนี้(30 ม.ค.67) ที่ห้องประชุมพระพุทธบาท ศาลากลางจังหวัดสระบุรี นายบัญชา  เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ประชุมกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการและหัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประจำเดือนมากราคม 2567 โดยก่อนวาระการประชุมได้มีพิธีมอบดล่รางวัลหมู่บ้านเข้มแข็งตามแนวทาง”แผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง” หมู่บ้านอยู่เย็น ประจำปี 2566 จำนวน 4 รางวัล จากนั้นนำเสนอหลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และแนะนำหัวหน้าส่วนราชการที่มาดำรงตำแหน่งในห้วงเดือนมกราคม เช่น นายวิชัย  บุญมี นายดุรงค์ฤทธิ์  ศิรพัฒนพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี นายยุทธนา โพธิวิหค ปลัดจังหวัดสระบุรี   นายสันชัย พัฒนะวิชัย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดสระบุรี เป็นต้น






    ในปีนี้จะมีการจัดกิจกรรมพิเศษหลายกิจกรรม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ให้ทุกหน่วยงานได้ร่วมแรงร่วมใจจัดงาน และจะมีการจัดงานสมโภชน์ 474 ปี สระบุรี ตักบาตรดอกเข้าพรรษาและตามรอยพระพุทธบาทอย่างยิ่งใหญ่ เตรียมจัดพิธีตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำป่าสัก ที่บ้านท่าราบ อำเภอเสาไห้ เพื่อร่วมพิธีกับส่วนกลาง และตั้งแต่บัดนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลสองข้างทางของถนนทุกสายให้มีความสวยงาม ดูแลเสาไฟ ระบบไฟฟ้าให่อยู่ในสภาพที่ดี ส่วนราชการต่าง ๆ ให้ดูแลเรื่องธงชาติ ธงตราสัญลักษณ์ ที่ติดตั้งต้องอยู่ในสภาพที่สวยงาม เรื่องหมอกควันไฟป่าต้องเข้มงวดเด็ดขาดโดยเฉพาะพื้นที่ที่เกิดขึ้นบ่อย






    นอกจากนี้คณะที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัด ได้นำเสนอความก้าวหน้าของงานที่รับมอบนโยบายจากผู้ว่าราชการจังหวัดมอบ โครงการคุณภาพชีวิตดี คนสระบุรีไม่ทอดทิ้งกัน ขณะนี้ได้จัดทำข้อมูลที่จะดูแลทั้งด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย อาชีพ สังคม แยกเป็นผู้ป่วยระยะฟื้นฟู 1167 คน คนพิการ 32036 คน ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 4065 คน ผู้ป่วยระยะประคับประคอง 257 คน ผู้ใช้สารเสพติดหลังพ้นโทษ 241 คน ส่วนที่ปรึกษาด้านโลจิสติก รายงานว่า ขณะนี้ทางด่วนพิเศษ เอ็ม 6 ช่วงสระบุรี ได้เซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว จะใช้ได้ในเร็ว ๆ นี้ ด้านส่งเสริมท่องเที่ยวได้ติดต่อบริษัททัวร์จีนกว่า 30 บริษัท เพื่อนำนักท่องเที่ยวจีนมายังสระบุรี ต่อไป..









วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567

สระบุรี - จัดพิธีสักการะพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 และบวงสรวงศาลหลักเมืองในพิธีเปิดงาน”ของดีและงานกาชาดจังหวัดสระบุรี”ประจำปี 2567

 ภาพ-ข่าว : สมภพ พิมมะศร สระบุรี



วันนี้(26 ม.ค.67) นายบัญชา  เชาวรินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี   เป็นประธานพิธีสักการะพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ณ วัดศาลาแดง สักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองสระบุรี และบวงสรวงศาลหลักเมืองในพิธีเปิดงาน”ของดีและงานกาชาดจังหวัดสระบุรี”ประจำปี 2567 ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 26 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2567 มกราคม 2566 ที่ถนนรอบศูนย์ราชการจังหวัดสระบุรี ตำบลตะกุอ อำเภอเมืองสระบุรี พร้อมด้วคณะ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดสระบุรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด  หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมประกอบพิธีบวงสรวงสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชนและข้าราชการ






สำหรับการจัดงาน”ของดีและงานกาชาดจังหวัดสระบุรี”ประจำปี 2567 ปีนี้มีการจัดกิจกรรมการแสดงความบันเทิงและการออกร้านมัจฉากาชาด การออกร้านของดีสระบุรี และสินค้า otop ผลิตผลทางการเกษตร มีการจัดกิจกรรมการแสดงดนตรี การประกวดร้องเพลงผู้นำท้องที่ผู้นำท้องถิ่น 13 อำเภอ การออกสลากกาชาดการกุศล เพื่อ จัดหารายได้นำไปใช้ ในกิจกรรมสาธารณประโยชน์ สาธารณกุศลและช่วยเหลือคนชรา เด็ก และผู้ด้อยโอกาส ในกิจการของเหล่ากาชาด








 

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2567

สระบุรี - ซีพี-เมจิ ปลุกพลังรักษ์โลก ส่งเสริมเยาวชนให้รู้จักแยกขยะอย่างถูกวิธี เตรียมพร้อมตั้งธนาคารขยะเต็มรูปแบบในปีนี้

 ภาพ-ข่าว : สมภพ พิมมะศร สระบุรี


วันที่ 24 มกราคม 2567 นายพลวรรธน์ เทียนชัยมงคล รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานในงานมอบรางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์จากขวดพลาสติก กิจกรรมภายใต้โครงการ “ซีพี-เมจิ  รีไซขุ่น” แก่นักเรียน 38 คนจาก 7 โรงเรียนต้นแบบในจังหวัดสระบุรี และลพบุรี โดยมีนางสาวชาลินี  พูนลาภมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และความยั่งยืน บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด ในฐานะองค์กรผู้ริเริ่มกิจกรรม และนายบุญเลิศ เนตร์ขำ นายอำเภอหนองแค  นายสุดสาคร  เรืองวิเศษ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 นางสาวกาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี ท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี และ นายปริญญา คุ้มสระพรม ร่วมเป็นเกียรติ ณ โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) จ.สระบุรี






รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีที่บริษัท ซีพี-เมจิ ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม และร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการศึกษาเรียนรู้นอกห้องเรียน เพื่อเสริมทักษะและความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับเด็ก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการแยกขยะ การส่งเสริมให้เยาวชนมีความตระหนักรู้ในเรื่องของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมจะทำให้เป็นนิสัยที่ดีที่จะติดตัวพวกเขาไปจนเติบโต นอกจากจะปฏิบัติจนคุ้นชินแล้ว เราเชื่อมั่นว่า เด็ก ๆ จะสามารถถ่ายทอดวิธีการที่ถูกต้องเช่นนี้ให้กับสมาชิกในครอบครัว ให้ได้ทำตาม ซึ่งในภาพรวมจะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของเรา”




นางสาวชาลินี พูนลาภมงคล รองผู้อำนวยการ บริษัท ซีพี-เมจิ จำกัด กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมมอบรางวัลให้กับเยาวชนที่มีผลงานดีเด่น จากการประดิษฐ์วัสดุจากขวดนมเหลือใช้ที่จัดขึ้นนั้น มีผลงานที่เข้าประกวดทั้งสิ้น 200 ชิ้นจาก 7 โรงเรียนเครือข่าย ใน 2 เขตพื้นที่การศึกษา ได้แก่ 1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2 จำนวน 6 โรงเรียน  ประกอบด้วย โรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์), โรงเรียนวัดลำบัว, โรงเรียนวัดบ้านจาน, โรงเรียนวัดขอนชะโงก (เขียววิมลราษฎร์อุปถัมภ์), โรงเรียนบ้านหนองผักบุ้ง, โรงเรียนวัดบัวลอย (สามัคคีสงเคราะห์) และ 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 มี  1 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเมืองใหม่ (ชลอราษฎร์รังสฤษฏ์) และมีนักเรียน ได้รับรางวัลทั้งหมด 38 คน
  “โครงการซีพี-เมจิ รีไซขุ่น มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของการแยกขยะ โดย ซีพี-เมจิ ในฐานะผู้ผลิตนมสดและผลิตภัณฑ์โยเกิร์ต ซึ่งใช้ขวดพลาสติกเป็นบรรจุภัณฑ์ ตระหนักดีว่า การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี เริ่มจากการแยกขยะที่ถูกต้องจากต้นทาง บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการ “แยกขวด-ลดขยะ” ใน 7 โรงเรียนต้นแบบ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ครูอาจารย์ และนักเรียนทุกคนเป็นอย่างดี
 นอกจากการแยกขยะแล้ว เรายังได้เห็นความสามารถของนักเรียนในการคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์จากขวดนมพลาสติกที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป” 
 โครงการ แยกขวด – ลดขยะ จัดขึ้นใน 7 โรงเรียนนำร่อง โดยทีมเจ้าหน้าที่จากฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ และความยั่งยืนจากบริษัท ซีพี-เมจิ จะลงพื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมสอนให้นักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา รู้จักวิธีแยกขยะอย่างถูกวิธี โดยเริ่มจากขวดนมที่ดื่มที่โรงเรียนในแต่ละวัน โดยเด็กๆ จะต้องล้าง และทิ้งในถังขยะที่จัดทำขึ้นพิเศษสำหรับโครงการ และในทุกเดือนจะมีการเก็บสถิติจำนวนขวดที่ได้ และนำไปขายเข้าสู่โรงงานรีไซเคิล โดยในปี พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา โครงการฯ สามารถเก็บแยก ขวดพลาสติกได้ทั้งหมดกว่า 420,000 ขวด จาก  6 ชุมชนในจังหวัดสระบุรี ได้แก่ ชุมชนตำบลห้วยขมิ้น , ชุมชนตำบลคชสิทธิ์, ชุมชนตำบลทับกวาง, ชุมชนตำบลหนองโรง,ชุมชนตำบลหนองนาก,ชุมชนตำบลบัวลอย  โดยเป็นขวดพลาสติกชนิด PET  จำนวน  350,000 ขวด และขวดพลาสติกขุ่นชนิด HDPE จำนวน 70,000 ขวด
 นอกจากนั้น ในแต่ละโรงเรียนจะทำการแยกขวดจำนวนหนึ่งเก็บไว้เพื่อนำมาเป็นเครื่องมือการเรียนในวิชางานประดิษฐ์ โดยในปี พ.ศ. 2567 โรงเรียนต้นแบบทั้ง 7 แห่ง มีแผนที่จะจัดโครงการได้แก่ 1)การจัดการสอน และรณรงค์แยกขยะต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 และ 2) จะมีการจัดตั้งธนาคารขยะ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน  และโรงเรียนรอบข้าง






นางวาสนา สุขธนู ผู้อำนวยการโรงเรียนหินกอง (พิบูลอนุสรณ์) กล่าวว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการซีพี-เมจิ “ซีพี-เมจิ รีไซขุ่น” โรงเรียนประสบปัญหาขยะมีปริมาณมากเกินที่จัดเก็บ หลังจากเข้าร่วมโครงการ นักเรียนสามารถแยกขวดพลาสติกนำไปรีไซเคิลช่วยลดปริมาณขยะ และทำให้โรงเรียนสะอาดดูงามตา และขยายผลไปยังโรงเรียนข้างเคียงได้อีกด้วย



ศาลแรงงานภาค 1 จัดโครงการ "จิตอาสาบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 3 มิถุนายน 2568"

 ภาพ-ข่าว : จันทร์เพ็ญ พิมมะศร สระบุรี   วันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568  เวลา 09.00 น. นายบัญชา เชาวรินทร์  ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีร่วมพิธีเปิด...