ภาพ-ข่าว : จันทร์เพ็ญ พิมมะศร สระบุรี
ณ
ห้องประชุมสัมมนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจังหวัดสระบุรี อ เมือง จ สระบุรี
ร้อยตำรวจตรี สิงห์คำ คำยอด นายอำเภอเสาไห้ เป็นประธานเปิดงาน มีนาย วสันต์
ดนมินทร์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองนาก น ส ฐิตินันท์ ตันทรบัณฑิตย์
นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นชำนาญการพิเศษ นางสมฤดี
จันทร์สุวรรณ นายกเทศมนตรีตำบลหน้าพระลาน
ได้ผลัดเปลี่ยนเสวนาให้ความรู้เรื่องในการจัดการขยะในชุมชนให้กับสมาชิกประชาชนและนักเรียนที่เข้าประชุมในวันนี้
และในช่วงบ่ายยังมีวิทยากรให้ความรู้ อีกหลายคน มีผู้อำนวยการสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 ให้การเสวนาเรื่องธนาคารขยะเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนโดยมี นายประพนธ์ เป้าทอง นายกสมาคมสานพลังสร้างสุขภาวะกล่าววัตถุประสงค์ในการจัดประชุมในครั้งนี้
ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้กำหนดให้มีคณะทำงานจัดสมัชชาสุขภาพจังหวัด (คจ.สจ.) เพื่อทำหน้าที่ในการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมในระดับจังหวัด โดยในปี 2567 จังหวัดสระบุรี ได้รับอนุมัติให้จัดทำโครงการสนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดสระบุรี
ซึ่งได้กำหนดประเด็นการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมการจัดการขยะในชุมชน เป็นประเด็นร่วมของการดำเนินงาน เพื่อสานพลังร่วมกับภาคีเครือต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคสื่อมวลชนและภาคประชาสังคม การประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสระบุรี : ว่าด้วยการจัดตั้งกองทุนธนาคารคัดแยกขยะในชุใมชนอย่างยั่งยืน อนามัยสิ่งแวดล้อม ชีวีมีสุข สุขภาวะสมบูรณ์ “ ในวันนี้ มีวัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพว่าด้วยการจัดธนาคารขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน 2.เพื่อสนับสนุนนโยบาย “จังหวัดสระบุรีเมืองคาร์บอนต่ำ ด้านการจัดการของเสีย “ ของผู้ว่า ราชการจังหวัดสระบุรี ( Saraburi : A Low Carbon City )
กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงาน องค์กรและกลุ่มบุคคลจากภาคราชการ ภาคองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชนและภาคประชาสังคมในจังหวัดสระบุรี จำนวน 120 คน
กิจกรรมในงานประกอบด้วย การจัดประชุมเสวนา การแสดงนิทรรศการและการประชุมสมัชชาสุขภาพจังหวัดสระบุรี จำนวน 2 ร่างมิติ ประกอบด้วย
-ร่างมิติที่ 1 การจัดตั้งกองทุนธนาคารคัดแยกขยะในชุมชนอย่างยั่งยืน
-ร่างมิติที่ 2 การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการป้องกันตลิ่งริมน้ำป่าสักพังทลายด้วยการสร้างเขื่อนคอนกรีต

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น