ภาพ-ข่าว : จันทร์เพ็ญ พิมมะศร สระบุรี
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน 2568 นายสมพร ศรีเมือง ผู้อ านวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศ
ไทย (อ.ส.ค.) พร้อมคณะผู้บริหาร อ.ส.ค. และผู้เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม ในโอกาสลงพื้นที่ศึกษาดูงานแนวทางทางการบริหารจัดการโคนมและ
ผลิตภัณฑ์นม และเพื่อรับฟังสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เกี่ยวกับปัญหาและ
อุปสรรคในอุตสาหกรรมโคนม เพื่อรวบรวมข้อมูลส าหรับการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติโคนมและ
ผลิตภัณฑ์นม ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมเกี่ยวกับข้อมูลการด าเนินงานของ
“องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.)"
โดยนายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าววัตถุประสงค์ในการมา อ.ส.ค. ครั้งนี้ว่า
การลงพื้นที่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโค
นมไทย เพื่อน าไปใช้ในการพิจารณาร่างกฎหมายให้มีความรอบคอบ ครอบคลุม และสามารถน าไปใช้ได้จริง “ร่าง
พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) โคนมและผลิตภัณฑ์นมฯ ฉบับใหม่นี้ ต้องตอบโจทย์เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทุกกลุ่ม และ
ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมโคนมของประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้ง
ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ” นายบุญสิงห์กล่าว
ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการฯ ให้ความส าคัญกับการลงพื้นที่เพื่อรับฟังข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง หวัง
ให้กฎหมายฉบับใหม่เป็นเครื่องมือส าคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมโคนมไทยอย่างแท้จริง
นายสมพร ศรีเมือง ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) กล่าวว่า “แม้การ
ลงพื้นที่ในครั้งนี้จะมีข้อจ ากัดเรื่องการเข้าสู่พื้นที่ฟาร์มจริง แต่ทาง อ.ส.ค. ก็ได้จัดเตรียมข้อมูลและสื่อการบรรยาย
ที่ครบถ้วน เพื่อให้คณะกรรมาธิการฯ ใช้ประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบ พร้อมยืนยันว่า อ.ส.ค. พร้อมท า
หน้าที่เป็นกลไกส าคัญในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมนมไทยอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะภายใต้เงื่อนไขของเขต
การค้าเสรี (FTA) ที่ท้าทายการแข่งขันในระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมา อ.ส.ค. มุ่งมั่นที่จะทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อม
ระหว่างนโยบายกับภาคปฏิบัติ
เพื่อให้เสียงของเกษตรกรโคนมทุกกลุ่มถูกถ่ายทอดอย่างครบถ้วนไปสู่การร่าง
กฎหมายใหม่ เราไม่ได้ท าแค่ในเชิงนโยบาย แต่เราลงมือท าจริงกับเกษตรกรทั่วประเทศมาอย่างต่อเนื่องตลอด
หลายปีที่ผ่านมาและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคที่การแข่งขันในตลาดเสรีมีความเข้มข้นขึ้น ท าให้เราต้องปรับบทบาทจาก
เพียงผู้ส่งเสริม ไปสู่การเป็น ‘พาร์ตเนอร์พัฒนา’ ทั้งในด้านองค์ความรู้ เทคโนโลยีฟาร์ม และการเชื่อมโยงตลาด
เพื่อให้เกษตรกรไทยมีความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน อีกทั้งฟาร์มโคนมประสิทธิภาพสูง ไทย–เดนมาร์ค
ที่คณะกรรมาธิการได้ศึกษาข้อมูลในวันนี้ ถือเป็นต้นแบบที่สะท้อนถึงความพร้อมของประเทศไทย ในการก้าวสู่
มาตรฐานการผลิตระดับสากล ภายใต้กรอบ FTA และนโยบายโคนมแห่งชาติ”
ในช่วงท้าย นายสมพรได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยความยินดีต่อความตั้งใจของคณะกรรมาธิการฯ และ
กล่าวสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ว่า “เราขอขอบคุณคณะกรรมาธิการทุกท่านที่เปิดโอกาสให้ภาคปฏิบัติ
ได้สะท้อนข้อเท็จจริง และหวังว่ากฎหมายใหม่นี้จะเป็นเครื่องมือที่ทันสมัย คล่องตัว และยั่งยืน เพื่อยกระดับ
อุตสาหกรรมโคนมไทยทั้งระบบ
ทั้งนี้ นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการฯ และคณะ ได้มีร่วมกันหารือ เพื่อหา
แนวทางในการน าข้อมูลปัญหา และอุปสรรคต่างๆไปปรับในร่างพระราชบัญญัติโคนมและผลิตภัณฑ์นม เพื่อให้มี
ความครอบคลุมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ทั้งเกษตรกร ผู้บริโภค ภาคเอกชน และหน่วยงานรัฐ เพื่อให้การ
ตัดสินใจด้านนโยบายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทันต่อสถานการณ์ และสนับสนุนอุตสาหกรรมนมไทยได้อย่าง
เป็นระบบ
พร้อมผลักดันร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ให้สามารถรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมนมไทยอย่างยั่งยืน สร้าง
รายได้ให้เกษตรกร และแข่งขันได้ในเวทีโลก และเสนอแนะว่าในอนาคต ท่ามกลางความท้าทายจากการน าเข้านม
ผงจากต่างประเทศภายใต้ FTA ซึ่งกระทบต่อต้นทุนและศักยภาพของเกษตรกรไทย ทั้งนี้คณะกรรมาธิการฯ เสนอ
ให้รัฐพิจารณาสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการสนับสนุนการรณรงค์บริโภคนมของประชาชนภายในประเทศ
จาก 18 ลิตร/คน/ปี ให้เป็น 25ลิตร/คน/ปี อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น